Marketing Oops 28 ก.ค. 2562 (ต่อจากตอนที่แล้ว)
จุดเปลี่ยนที่ 6 # ค่ายเพลง – ศิลปิน สร้างรายได้หลายทาง
เพลง “ทุกอย่าง” ของวง Scrubb ประมาณช่วงปี 2544 – 2545
คุณอาทิตย์ : ตอนที่ผมทำ Fat Radio เรามีความคิดว่าอยากจะเล่นเพลง Pop ที่ดี โดยไม่ได้เป็น Pop ที่ดาษดื่น เราเลือกเพลงที่เป็นวงดนตรีหน้าใหม่หลายวง ประกอบกับคนไม่ค่อยซื้อซีดีกันแล้ว และมูลค่าซีดีตกต่ำลง
“เพราะฉะนั้นศิลปินทางเลือก หรือศิลปินอิสระที่ไม่ได้มีใครอุ้มชู เรามองว่าจะทำอย่างไรให้เขาแจ้งเกิด เขาเอาตัวรอดได้ วิธีการคือ เอาศิลปินเหล่านี้ไปเจอแฟนเพลง-คนฟัง จึงเกิดเทศกาลดนตรีขึ้นมาคือ Fat Fest โดยที่เพลงก็ยังเป็นเพลง
แต่ขณะเดียวกันศิลปินยังมีรายได้มาจากทั้งการเล่นดนตรีสด การขายของ Merchandise รายได้มาจากการขายเสื้อยืด แผ่น Limited Edition ต่างๆ ซึ่งวง Scrubb เป็นตัวอย่างหนึ่ง ด้วยโมเดลนี้ทำให้ผู้ฟังเข้าถึงศิลปินได้ง่ายขึ้น”
คุณอนุชา : เนื่องจากยุคของ Scrubb เป็นยุคที่สถานีวิทยุ ถูกครอบงำโดยค่ายใหญ่ เพราะฉะนั้นเพลงที่เปิด จะเป็นเพลงของค่าย แต่ Fat Radio นำเพลงนอกกระแส ที่ไม่อยู่ในค่ายใหญ่มานำเสนอ จึงเป็นทางเลือกให้กับคนฟัง
จุดเปลี่ยนที่ 7 # YouTube เวทีเปิดให้ใครๆ ก็เป็นศิลปินได้
พัฒนาการของเทคโนโลยี และ Internet Penetration ในไทย มาพร้อมกับการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เปลี่ยนทั้ง Media Landscape และ Music Industry Landscape ทั่วโลก
นั่นคือ การเกิดขึ้นของ “YouTube” เปรียบเป็นเวทีเปิดกว้างให้ใครก็ได้ที่อยากแสดงความสามารถด้านต่างๆ มาอยู่บนแพลตฟอร์มนี้ โดยที่ผู้ฟัง – ผู้ชม คือคนทั่วโลก
เพลงของศิลปินวง “Room 39” คนไทย 3 คนที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ แจ้งเกิดจากการ Cover เพลงดัง ทั้งไทย และสากลผ่าน YouTube จนเป็นที่รู้จักในคนไทย และวันหนึ่งมีเพลงเป็นของตัวเอง
คุณอาทิตย์ : การทำเพลงเมื่อก่อน ต้องส่ง Demo ให้ค่ายเพลง แล้วรอให้ค่ายพิจารณา แต่เมื่อ YouTube เข้ามา เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอที่เปิดโอกาสให้คนที่ YouTube เรียกคนเหล่านี้ว่า Creator ได้เป็นศิลปิน (รวมถึงผลิตคอนเทนต์รูปแบบต่าง)
เพราะฉะนั้น YouTube กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ศิลปิน หรือแม้คนธรรมดาอยากทำเพลง ทำขึ้นมา และอัพขึ้นอยู่บน YouTube ซึ่งข้ามขั้นตอนมีเดียต่าง ตัดคนกลางไปอย่างรุนแรง”
คุณจักรพันธุ์ : นิยามความสำเร็จของศิลปินในทุกวันนี้ เราเลิกเรียกว่าล้านตลับแล้ว คำว่าว่าล้านตลับ กลายเป็นสิ่งที่ไม่ relate กับตลาดอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นล้านวิว และ Subscriber เท่าไร
ส่งผลให้ค่ายเพลงใหญ่ เลิกผลิตเพลงในรูปแบบ Physical
คุณอนุชา : ค่ายใหญ่อาจเลิกผลิต Physical แต่ถ้าเป็นน้องๆ อินดี้ตอนนี้ การทำ Physical เป็นสิ่งที่เขาโหยหา เขาอยากทำเทป ซีดี แผ่น Vinyl เพราะเขามองว่าการทำลง YouTube เป็นการทำฟรี วันหนึ่งก็หายไป แต่ได้ในแง่ของการประชาสัมพันธ์ ศิลปินปล่อยผลงานทาง YouTube และ Music Streaming
คุณอาทิตย์ : YouTube เป็นช่องทางปล่อยเพลง แต่ไม่ใช่สิ่งที่ศิลปินจะเก็บรักษาผลงานของเขาไว้ได้ เพราะฉะนั้นการบันทึกลงบนซีดี หรือ Physical ต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าพอถึงจุดๆ หนึ่ง ที่พีคมาก คนจะหาทางออก หาทางเก็บสิ่งนั้นไว้ นี่คือสิ่งที่เป็นตามธรรมชาติของกลไกทางการตลาด
จุดเปลี่ยนที่ 8 # Music Streaming เทคโนโลยีทำให้คนฟังมีอิสระ
พัฒนาการการฟังเพลง เดินทางมาถึงการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี “Music Streaming” ที่ทำให้ทุกคนสามารถฟังเพลงได้ตามต้องการ ด้วยการจัด Playlist ของตัวเอง และหนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จจากแพลตฟอร์มี้
เพลงของ “The Toy” หนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จจากแพลตฟอร์ม Music Streaming
คุณอาทิตย์ : Streaming คือ แอปฯ ที่คุณสามารถฟังเพลง โดยไม่มีข้อจำกัด แลกกับการจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง หรือไม่จ่าย แล้วคุณได้ฟังเพลงตลอดเวลา จัด playlist ของตัวเอง มีอิสระในการฟังเพลง แต่สิ่งที่ Streaming ซ่อนอยู่ คือ AI – การจดจำพฤติกรรมการฟัง เกิดการเรียนรู้ ทำให้การฟังเพลงเป็น personalization
คุณอนุชา : การปล่อยเพลงบน Streaming ช่วยด้านการประชาสัมพันธ์มาก และเพลงยังเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ หลังจาก The Toy ปล่อยเพลงมาทั้งหมดแล้ว ทางค่ายตัดสินใจผลิตแผ่นออกมา เกิดปรากฏการณ์จองซีดี เป็นยุค Pre-order
จุดเปลี่ยนที่ 9 # ศิลปินภูมิภาคสร้างกระแสทั่วไทย ไม่ต้องใช้งบสูง – ไม่ต้องง้อค่ายใหญ่
การผลิตงานเพลงที่ผ่านมา จะมาจากส่วนกลาง คือ กรุงเทพฯ ผลิตแล้วปล่อยออกไปทั่วประเทศ แต่ทุกวันนี้ไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว เพราะเมื่อเทคโนโลยีถูกลง คนเข้าถึงเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต ทำให้คนที่มีความสามารถด้านดนตรี ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของประเทศ ก็ปลุกปั้นผลงานดนตรีขึ้นมาได้เอง ด้วยงบประมาณ และงาน Production ที่ไม่ต้องใช้งบลงทุนสูง
เพลง “เลิกคุยทั้งอำเภอ เพื่อเธอคนเดียว” ของศิลปินลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น
คุณอาทิตย์ : เทคโนโลยีทำให้คนสามารถทำเพลงได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ทำให้เกิดศิลปินจากภูมิภาคต่างๆ อย่างศิลปินวงนี้ และเพลงนี้ ดังมาก มีงานโชว์ในภูมิภาค ทำให้รายได้หลักมาจากงานโชว์ และ YouTube โดยที่ยังไม่ได้ผลิตแผ่นอะไรออกมาเลย
คุณอนุชา : การที่ศิลปินเป็นนักเรียนมัธยม และทำเพลงออกมา ทั้งรูปแบบ และซาวด์ดนตรีที่เข้าถึงง่าย เป็นสิ่งที่ทำให้เพลงนี้ดัง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน เป็นกลุ่มใหญ่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ และใช้ YouTube
จุดเปลี่ยนที่ 10 # Idol Model เขย่าวงการเพลงไทย สร้างแฟนคลับ-ทำรายได้ไม่ใช่แค่ผลงานเพลง
อุตสาหกรรมเพลงเดินทางมาถึงโมเดลใหม่ที่เขย่าธุรกิจเพลงในไทยอย่างรุนแรงเช่นกัน นั่นคือ การเกิดขึ้นของ “Idol Model” ที่สมาชิกในวงเป็น “Idol” ไม่ใช่เพียงการถือไมค์ร้องเพลง และเต้น ออกคอนเสิร์ตเท่านั้น แต่ต้องทำหน้าที่เป็น “Idol”
“BNK48” วงเกิร์ลกรุ๊ปที่ต้นแบบมาจากญี่ปุ่น
คุณอนุชา : ปกติการทำเพลง คือ คุณจะเป็นนักร้อง หรือเป็นนักดนตรี แต่สำหรับ BNK48 เป็นโมเดลของการสร้าง Idol โดยที่สมาชิกในวงไม่ได้เป็นนักร้องโดยตรง แต่มีความสามารถอื่นๆ
คุณอาทิตย์ : BNK48 นำเสนอ Story ของวง และสมาชิก ทั้งในเรื่องความพยายามของสมาชิก ควบคู่กับการใช้สื่อที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างคุ้มค่ามาก และสร้างช่องทางการสื่อสารขึ้นเอง เพื่อให้แฟนคลับได้ติดตามต่อเนื่อง และอีเว้นท์ของวง ขณะที่เพลง บางเพลงอาจไม่ฮิตมาก แต่ใช้เรื่องแบรนด์ “BNK48” นำ ทำให้เห็นว่าธุรกิจดนตรี มีมากกว่าการขึ้นเวทีแสดงสด มีมากกว่าการขาย Merchandise แต่ยังลึกซึ้งไปกว่านั้น
คุณจักรพันธุ์ : ก่อให้เกิดความผูกพัน เป็น Commitment ระหว่าง Idol กับแฟนคลับ ซึ่งไม่เคยเห็นวงการเพลงยุคไหน ที่มี Brand Loyalty แข็งแกร่งเท่ายุคนี้
เมื่อไล่เลี่ยง 10 เพลง/ศิลปินดังกล่าว ถือเป็นการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์สังคมไทย – อุตสาหกรรมเพลงไทย ผ่านบทเพลง และศิลปินที่เป็นสื่อกลางบอกเล่าการเปลี่ยนผ่านในแต่ละยุคสมัย
“ความแข็งแรงของเทคโนโลยีจะเป็นจุดสำคัญที่ผลักดันให้วงการดนตรีขับเคลื่อนไป แต่สิ่งที่จะ return ที่จะทำให้ศิลปินมีรายได้ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆ เช่น การแสดงดนตรี งาน merchandise ต่างๆ และความผูกพันระหว่างศิลปิน กับแฟนเพลง ทำให้ศิลปินอยู่ได้นานๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวผลักดัน
ถ้าไล่ดู 10 เพลง จะพบว่าทุกเพลงพอถึงจุดหนึ่งจะมีการพีค หรือการเบื่อของตลาด และคนจะไปอีกทางหนึ่งตลอด ไม่แน่ว่าถึงจุดหนึ่ง คนสนใจอยากเก็บทำซีดี – แผ่น Vinyl อาจจะเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวกลับมา” คุณอาทิตย์ สรุปทิ้งท้าย
ถ้าชอบบทความ กดให้หัวใจด้านล่างให้ด้วย ผมจะได้สรรหาเนื้อหาใกล้เคียงจากที่อื่นมาลงให้อ่านบ่อยๆ ขอบคุณครับ
สนับสนุนBlog ให้คลิกปลุ่ม "เพิ่มเพื่อน"ด้านบน (เข้าถึงBlog ผ่านเมนูในไลน์ ฟรี)
28 July 2019
Commenti